วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบสติปัญญา

แบบทดสอบสติปัญญา

คำว่า สติปัญญา นักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้คำจำกัดความดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้            เดวิด เวคส์เลอร์ (David Wechsler) ให้คำจำกัดความว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ความสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม ความสามารถในการกระทำของบุคคลที่มีเป้าหมาย และความสามารถที่จะคิดอย่างมีเหตุผล
            จี.ดี.สตอดดาร์ด (G.D. Stoddard) ให้ความหมายว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีความยาก ความซับซ้อน ความเป็นนามธรรม เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าทางสังคม เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ รวมทั้งความสามารถที่จะทำกิจกรรมนั้นๆ โดยประหยัดเวลาและทุนทรัพย์
            เอท.เอท.ก็อดดาร์ด (H.H. Goddard) อธิบายว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
            จากคำจำกัดความของคำว่าสติปัญญา สรุปได้ดังนี้      สติปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้      สติปัญญา คือ ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผลและเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม      สติปัญญา คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม                เมื่อกล่าวถึง สติปัญญา หรือ ความฉลาดทางปัญญา คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงคำว่า IQ ซึ่งเป็นความคิดดั้งเดิมตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 1950  การวัด IQ เป็นการวัดความฉลาด จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เชาว์ไวไหวพริบ และ ความสามารถใน การแก้ไขปัญหา ด้านตรรกะ ตัวเลข ความจำ ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีการ วิพากวิจารณ์ ถึงข้อจำกัดกันมาก  ปัจจุบันพบว่า ความฉลาดของคนไม่ได้แสดงออกมาเพียงแค่นั้น แต่เป็นความฉลาดที่หลากหลายที่เรียกว่า Multiple Intelligence หรือ พหุปัญญา ซึ่ง นักจิตวิทยา ชาวอเมริกา ชื่อ Howard Guardner กล่าวว่า คนเราทุกคน มี ความสามารถทางสมอง หลายด้านด้วยกัน โดยธรรมชาติ แล้วมนุษย์ทุกคนจะมี ความฉลาด 8 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้           1. ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic intelligence) คือ ความสามารถด้านภาษา การพูดจาโน้มน้าวผู้อื่น ความสามารถด้านการเขียน ความสามารถด้านบทกวี มีความสามารถในการจำวันเดือนปีและคิดประดิษฐ์คำ
           2. ความฉลาดด้านการคำนวณ (Logical Mathematical Intelligence) คือความสามารถในการใช้เหตุผล การคำนวณ ความสามารถด้านจำนวนตัวเลข ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างเป็นระบบ           3. ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) คือความสามารถในการสร้างภาพในสมองความสามารถในการสร้างจินตนาการสร้างภาพต่างๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนตัวอย่างเช่นสถาปนิกสร้างภาพตึก หรือเมืองขึ้นจากภาพจินตนาการ ความสามารถในการอ่านภาพแผนที่ แผนภูมิ ความสามารถในด้านจินตนาการ สร้างสรรค์           4. ความฉลาดด้านกายภาพหรือร่างกาย (Bodily kinesthetic Intelligence) คือความสามารถในการใช้สรีระ ร่างกาย ความสามารถในการเล่นกีฬาที่ใช้สรีระร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถในการเต้นรำ การแสดง และรวมถึงความสามารถใน ด้านหัตถกรรม และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ การเคลื่อนไหว การสัมผัส และใช้ภาษาท่าทาง          5. ความฉลาดด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือความสามารถในด้านคนตรี ความสามารถด้านการร้องเพลง จับระดับเสียงที่มี ความแตกต่างได้ดี สามารถจำทำนอง จังหวะเพลง เสียงดนตรีได้ดี มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรี         6. ความฉลาดด้านทักษะสังคม (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในด้านการเข้าสังคม การเป็นมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ความสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นความสามารถในการสื่อสารการจัดการและ ความเป็นผู้นำ ชอบพูดคุยกับผู้อื่นมีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถบริหารความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         7. ความฉลาดด้านบุคคล (Intrapersonal Intelligence) คือความสามารถของบุคคลในการเข้าใจตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตได้อย่างเหมาะสม ชอบการทำงานคนเดียว ใช้เวลาในการคิดใคร่ครวญ และทำตามความสนใจของตนเอง
         8. ความฉลาดด้านธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) คือความสามารถในการมองเห็นความงาม ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ รักธรรมชาติ
          จุดมุ่งหมายของการทดสอบสติปัญญา           1. เพื่อเป็นการวินิจฉัยปัญหา เช่น นักเรียนผู้หนึ่งมีความสามารถทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก นักแนะแนวต้องตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นเพราะสาเหตุเนื่องจากระดับสติปัญญาต่ำ หรือองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จึงได้มีการทดสอบสติปัญญานักเรียนผู้นั้น ผลจากการทดสอบปรากฏว่าเด็กผู้นั้นมีระดับสติปัญญาปานกลาง ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหา จะได้วินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาทางด้านอื่นที่ไม่ใช่ปัญหาทางระดับสติปัญญา        2. เพื่อทำนายความสำเร็จของบุคคล โดยเฉพาะความสำเร็จทางการเรียน         มีผู้พัฒนาแบบทดสอบสติปัญญาขึ้นมากมาย แต่จะยกมาเฉพาะที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบทดสอบของบิเนท์ แบบทดสอบของเวคส์เลอร์ และแบบทดสอบสติปัญญาวัฒนธรรมสากล

IQ    = อายุสมองคูน 100 หารด้วยอายุจริง
    ตัวอย่าง: เด็กคนหนึ่งมีอายุ 18 ปี ทำแบบทดสอบได้เท่ากับอายุสมอง 16 ปี                   จงหาค่าของ IQ ของเด็กคนนี้
         IQ    = อายุสมองคูณ 100 หารด้วยอายุจริง

         IQ =  16 คูณ 100 หาร 18   =   88.9
     ดังนั้น IQ ของเด็กคนนี้จะมีค่าเท่ากับ 88.9
            
ระดับไอคิว
ระดับสติปัญญา
การศึกษา การประกอบอาชีพและการปรับตัว
130 ขึ้นไป
ฉลาดมาก
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาเอก
120-129
ฉลาด
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาโท
110-119
สูงกว่าปกติหรือค่อนข้างฉลาด
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาตรี หรือมีโอกาส จบมหาวิทยาลัยได้
90-109
ปกติหรือปานกลาง
เป็นไอคิวเฉลี่ยของประชากรปกติ ส่วนใหญ่มีความสามารถปานกลางเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายได้
80-89
ต่ำกว่าปกติหรือปัญญาทึบ
เชาวน์ปัญญาต่ำที่สามารถรับการ ศึกษาพิเศษสำหรับเด็กเรียนช้าๆ
70-79
ระดับเชาวน์ปัญญาก้ำกึ่ง ระหว่างปัญญาทึบกับปัญญาอ่อน
และประกอบอาชีพประเภทช่างฝีมือได้
50-69
ปัญญาอ่อนเล็กน้อย
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 7-10 ปี อาจพอรับรู้การศึกษาได้ ในระดับประถมต้น ป .1- ป .4 โดยเรียนอยู่ในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียน การศึกษาพิเศษเฉพาะ ประกอบอาชีพที่ไม่ต้องความรับผิดชอบสูง หรืองาน ประเภทช่างฝีมือง่ายๆ
35-49
ปัญญาอ่อนปานกลาง
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็ก อายุ 4-7 อาจอ่านเขียนได้เล็กน้อย แต่เรียนรู้ได้ช้า ไม่สามารถเรียน ในโรงเรียนปกติได้ ควรเรียน ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสมอาจพอดูแลตนเองในชีวิต ประจำวันได้ และทำงานง่ายๆภายใต้การควบคุมดูแล
20-34
ปัญญาอ่อนมาก
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 3 ปี เรียนหนังสือไม่ได้ มีความบกพร่องเห็นได้ชัดในพฤติกรรม การปรับตัวและอาจมีพัฒนาการบกพร่องในด้านภาษาการรับรู้ การดำรงชีวิต ต้องอยู่ภายใต้การดูแล เช่นเดียวกับเด็กเล็ก
ต่ำกว่า 20 ลงไป
ปัญญาอ่อน มากที่สุด
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 1-2 ปี ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องมีผู้ให้การดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น