วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบสติปัญญา

แบบทดสอบสติปัญญา

คำว่า สติปัญญา นักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้คำจำกัดความดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้            เดวิด เวคส์เลอร์ (David Wechsler) ให้คำจำกัดความว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ความสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม ความสามารถในการกระทำของบุคคลที่มีเป้าหมาย และความสามารถที่จะคิดอย่างมีเหตุผล
            จี.ดี.สตอดดาร์ด (G.D. Stoddard) ให้ความหมายว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีความยาก ความซับซ้อน ความเป็นนามธรรม เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าทางสังคม เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ รวมทั้งความสามารถที่จะทำกิจกรรมนั้นๆ โดยประหยัดเวลาและทุนทรัพย์
            เอท.เอท.ก็อดดาร์ด (H.H. Goddard) อธิบายว่า สติปัญญา คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
            จากคำจำกัดความของคำว่าสติปัญญา สรุปได้ดังนี้      สติปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้      สติปัญญา คือ ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผลและเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม      สติปัญญา คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม                เมื่อกล่าวถึง สติปัญญา หรือ ความฉลาดทางปัญญา คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงคำว่า IQ ซึ่งเป็นความคิดดั้งเดิมตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 1950  การวัด IQ เป็นการวัดความฉลาด จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เชาว์ไวไหวพริบ และ ความสามารถใน การแก้ไขปัญหา ด้านตรรกะ ตัวเลข ความจำ ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีการ วิพากวิจารณ์ ถึงข้อจำกัดกันมาก  ปัจจุบันพบว่า ความฉลาดของคนไม่ได้แสดงออกมาเพียงแค่นั้น แต่เป็นความฉลาดที่หลากหลายที่เรียกว่า Multiple Intelligence หรือ พหุปัญญา ซึ่ง นักจิตวิทยา ชาวอเมริกา ชื่อ Howard Guardner กล่าวว่า คนเราทุกคน มี ความสามารถทางสมอง หลายด้านด้วยกัน โดยธรรมชาติ แล้วมนุษย์ทุกคนจะมี ความฉลาด 8 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้           1. ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic intelligence) คือ ความสามารถด้านภาษา การพูดจาโน้มน้าวผู้อื่น ความสามารถด้านการเขียน ความสามารถด้านบทกวี มีความสามารถในการจำวันเดือนปีและคิดประดิษฐ์คำ
           2. ความฉลาดด้านการคำนวณ (Logical Mathematical Intelligence) คือความสามารถในการใช้เหตุผล การคำนวณ ความสามารถด้านจำนวนตัวเลข ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างเป็นระบบ           3. ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) คือความสามารถในการสร้างภาพในสมองความสามารถในการสร้างจินตนาการสร้างภาพต่างๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนตัวอย่างเช่นสถาปนิกสร้างภาพตึก หรือเมืองขึ้นจากภาพจินตนาการ ความสามารถในการอ่านภาพแผนที่ แผนภูมิ ความสามารถในด้านจินตนาการ สร้างสรรค์           4. ความฉลาดด้านกายภาพหรือร่างกาย (Bodily kinesthetic Intelligence) คือความสามารถในการใช้สรีระ ร่างกาย ความสามารถในการเล่นกีฬาที่ใช้สรีระร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถในการเต้นรำ การแสดง และรวมถึงความสามารถใน ด้านหัตถกรรม และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ การเคลื่อนไหว การสัมผัส และใช้ภาษาท่าทาง          5. ความฉลาดด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือความสามารถในด้านคนตรี ความสามารถด้านการร้องเพลง จับระดับเสียงที่มี ความแตกต่างได้ดี สามารถจำทำนอง จังหวะเพลง เสียงดนตรีได้ดี มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรี         6. ความฉลาดด้านทักษะสังคม (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในด้านการเข้าสังคม การเป็นมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ความสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นความสามารถในการสื่อสารการจัดการและ ความเป็นผู้นำ ชอบพูดคุยกับผู้อื่นมีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถบริหารความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         7. ความฉลาดด้านบุคคล (Intrapersonal Intelligence) คือความสามารถของบุคคลในการเข้าใจตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตได้อย่างเหมาะสม ชอบการทำงานคนเดียว ใช้เวลาในการคิดใคร่ครวญ และทำตามความสนใจของตนเอง
         8. ความฉลาดด้านธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) คือความสามารถในการมองเห็นความงาม ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ รักธรรมชาติ
          จุดมุ่งหมายของการทดสอบสติปัญญา           1. เพื่อเป็นการวินิจฉัยปัญหา เช่น นักเรียนผู้หนึ่งมีความสามารถทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก นักแนะแนวต้องตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นเพราะสาเหตุเนื่องจากระดับสติปัญญาต่ำ หรือองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จึงได้มีการทดสอบสติปัญญานักเรียนผู้นั้น ผลจากการทดสอบปรากฏว่าเด็กผู้นั้นมีระดับสติปัญญาปานกลาง ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหา จะได้วินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาทางด้านอื่นที่ไม่ใช่ปัญหาทางระดับสติปัญญา        2. เพื่อทำนายความสำเร็จของบุคคล โดยเฉพาะความสำเร็จทางการเรียน         มีผู้พัฒนาแบบทดสอบสติปัญญาขึ้นมากมาย แต่จะยกมาเฉพาะที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบทดสอบของบิเนท์ แบบทดสอบของเวคส์เลอร์ และแบบทดสอบสติปัญญาวัฒนธรรมสากล

IQ    = อายุสมองคูน 100 หารด้วยอายุจริง
    ตัวอย่าง: เด็กคนหนึ่งมีอายุ 18 ปี ทำแบบทดสอบได้เท่ากับอายุสมอง 16 ปี                   จงหาค่าของ IQ ของเด็กคนนี้
         IQ    = อายุสมองคูณ 100 หารด้วยอายุจริง

         IQ =  16 คูณ 100 หาร 18   =   88.9
     ดังนั้น IQ ของเด็กคนนี้จะมีค่าเท่ากับ 88.9
            
ระดับไอคิว
ระดับสติปัญญา
การศึกษา การประกอบอาชีพและการปรับตัว
130 ขึ้นไป
ฉลาดมาก
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาเอก
120-129
ฉลาด
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาโท
110-119
สูงกว่าปกติหรือค่อนข้างฉลาด
เป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียน ในระดับปริญญาตรี หรือมีโอกาส จบมหาวิทยาลัยได้
90-109
ปกติหรือปานกลาง
เป็นไอคิวเฉลี่ยของประชากรปกติ ส่วนใหญ่มีความสามารถปานกลางเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายได้
80-89
ต่ำกว่าปกติหรือปัญญาทึบ
เชาวน์ปัญญาต่ำที่สามารถรับการ ศึกษาพิเศษสำหรับเด็กเรียนช้าๆ
70-79
ระดับเชาวน์ปัญญาก้ำกึ่ง ระหว่างปัญญาทึบกับปัญญาอ่อน
และประกอบอาชีพประเภทช่างฝีมือได้
50-69
ปัญญาอ่อนเล็กน้อย
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 7-10 ปี อาจพอรับรู้การศึกษาได้ ในระดับประถมต้น ป .1- ป .4 โดยเรียนอยู่ในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียน การศึกษาพิเศษเฉพาะ ประกอบอาชีพที่ไม่ต้องความรับผิดชอบสูง หรืองาน ประเภทช่างฝีมือง่ายๆ
35-49
ปัญญาอ่อนปานกลาง
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็ก อายุ 4-7 อาจอ่านเขียนได้เล็กน้อย แต่เรียนรู้ได้ช้า ไม่สามารถเรียน ในโรงเรียนปกติได้ ควรเรียน ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสมอาจพอดูแลตนเองในชีวิต ประจำวันได้ และทำงานง่ายๆภายใต้การควบคุมดูแล
20-34
ปัญญาอ่อนมาก
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 3 ปี เรียนหนังสือไม่ได้ มีความบกพร่องเห็นได้ชัดในพฤติกรรม การปรับตัวและอาจมีพัฒนาการบกพร่องในด้านภาษาการรับรู้ การดำรงชีวิต ต้องอยู่ภายใต้การดูแล เช่นเดียวกับเด็กเล็ก
ต่ำกว่า 20 ลงไป
ปัญญาอ่อน มากที่สุด
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 1-2 ปี ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องมีผู้ให้การดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด


วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โครงการบริการทางจิตวิทยา

โครงการบริการทางจิตวิทยา
1.ชื่อโครงการ      โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย  สร้างจิตสดใส   ร่างกายแข็งแรง ประจำปี  พ.ศ. 2555
2.หลักการและเหตุผล
ด้วยคณะรัฐมนตรีวันที่14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติถือเป็นราชประเพณีของไทยมาแต่โบราณ   มีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยโบราณ   ซึ่งถือเป็นประเพณีอันดีงามและสิ่งที่นิยมกันมาก็คือ  การรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ   อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีเป็นวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมอันดีงามของไทยถือว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่สถาบันครอบครัว  และสังคมให้ความเคาระนับถือเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์สูง   เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ความสามารถวัฒนธรรม  ประเพณีผู้ค้ำจุนจิตใจให้แก่บุคคลในครอบครัวร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบ่อสงคราม   รวมทั้งประชาชนตำบลสะเตงนอก  ได้เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว    จึงได้พร้อมใจกันจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย  สร้างจิตสดใส  ร่างกายแข็งแรง  ประจำปี  พ.ศ.2555
3.วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2.เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
3.เพื่อเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี ระหว่างกันในชุมชนอย่างกว้างขวาง
4.เป้าหมาย
1.จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการรวมทั้งอบรมให้ความรู้    ให้กับผู้สูงอายุใน เขตตำบลสะเตงนอก  จำนวน 490  คน
2.ผู้ดำเนินกิจกรรมและประสานงานต่างๆ ประกอบไปด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิก อบต.
ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประชาชนอื่นๆ จำนวน 100 คน
5.วิธีการดำเนินการ
1.ประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อหารือกับราษฎร ม.1ม.6
2.จัดทำโครงการ เพื่อกำหนดรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรม
3.มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
5.สรุปประเมินผลโครงการ
6.สถานที่ดำเนินการ   ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสะเตงนอก  อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
7. งบประมาณตามโครงการ
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.สะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา  จำนวน 65,700.- บาท
1.ค่าจ้างเหมาจัดทำอาหาร น้ำดื่ม น้ำแข็ง ผลไม้ ฯลฯ สำหรับบริการ ผู้สูงอายุ ตลอดจน ประชาชนอื่นๆที่มาร่วมกิจกรรม จำนวน 1 มื้อ (มื้อเที่ยง) รวมทั้งอาหารว่าง 1 มื้อ เป็นเงิน 40,000.- บาท
2.ค่ารางวัลประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี
- ชนะเลิศ 2 รางวัลๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท
- รองชนะเลิศ 2 รางวัลๆละ 400.- บาท เป็นเงิน 800.- บาท
- ชมเชย 10 รางวัลๆละ 300.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท
รวมเป็นเงิน 4,800.- บาท                                                                                                                          
3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 0.40x4.80 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000.- บาท
4.ค่าจ้างเหมาตกแต่งและพิธีเปิดการอบรม เช่น พานบายศรีเวทีเครื่องเสียงสำหรับ ประกอบกิจกรรม จำนวน 6,000 บาท
5.ค่าพาหนะเหมาจ่าย รับ-ส่งผู้สูงอายุ จำนวน 6  หมู่บ้าน รวมเป็นเงิน 4,700 บาท แยกเป็น
- หมู่ที่ 1, 2,5  หมู่บ้านละ 800 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
- หมู่ที่ 3 เป็นเงิน 600 บาท
- หมู่ที่ 4,6 หมู่บ้านละ 450 บาท เป็นเงิน 900 บาท
6.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับดำเนินกิจกรรมตามโครงการ เช่น เชือก แป้ง น้ำหอม ขันตักน้ำ ฯลฯ เป็นเงิน 7,400 บาท
7.ค่าตอบแทนวิทยากรที่มาอบรมให้ความรู้หลักสูตร กินอยู่อย่างไรให้ชีวิตยังยืน จำนวน 6 คน ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
8.กิจกรรม
- กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดีประกวดร้องเพลง กิจกรรมเข้าจังหวะ,เล่นเกมส์,รำไม้พลอง,แอโรบิก ฯลฯ
- ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ
- รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ
- อบรมให้ความรู้หลักสูตรกินอยู่อย่างไรให้ชีวิตยืนยาว
9.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตสดใส
2.คนในชุมชนมีความสามัคคีในการทำกิจกรรมร่วมกัน
3.ผู้สูงอายุได้มีขวัญและกำลังใจ


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบสังเกตพฤติกรรม

แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความรับผิดชอบ
วิชา………………………………………………..
กลุ่มสาระ……………………………………
ชื่อผู้เรียน………………………………………………………ชั้น…………เลขที่………
วันที่………………………………    ลงชื่อ …………………………………. ผู้สอน
คำชี้แจง  แบบสังเกตนี้ใช้สำหรับสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความรับผิดชอบของผู้เรียนที่แสดงออกในห้องเรียน โปรดเขียนเครื่องหมาย Pลงในช่องที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน
ระดับพฤติกรรม
ระดับพฤติกรรม
3
2
1
เข้าเรียนตรงเวลา



ส่งงานตามเวลานัด



มีอุปกรณ์การเรียนพร้อม



ทำกิจกรรมกลุ่มจนบรรลุเป้าหมาย



ปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จสมบูรณ์



ทำงานอย่างมีระบบ ระเบียบ ละเอียด รอบคอบ



รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์



ติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ



กระตือรือร้น ขยันหมั่นเพียร ใฝ่เรียน ใฝ่รู้



ยอมรับการกระทำของตน



รู้จักหน้าที่และกระทำงานอย่างเต็มความสามารถ



มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น



รู้จักวางแผนและปฏิบัติตามแผน



รวม



สรุปผลการสังเกต
                ระดับ      3 จำนวนข้อ………………รวมคะแนน………………คะแนน
      ระดับ                จำนวนข้อ………………รวมคะแนน………………คะแนน
      ระดับ                             จำนวนข้อ………………รวมคะแนน………………คะแนน
                                                                รวมคะแนนทั้งหมด………………………คะแนน
เกณฑ์การสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความรับผิดชอบ
รายการคุณลักษณะ
ระดับคุณภาพของพฤติกรรม
3
2
1
เข้าเรียนตรงเวลา
เข้าเรียนตรงเวลาทุกครั้ง
เข้าเรียนตรงเวลาบางครั้ง
เข้าเรียนสายเป็นประจำ
ส่งงานตรงตามเวลานัด
ส่งงานตรงตามเวลาทุกครั้ง
ส่งงานตรงตามเวลาบางครั้ง
ส่งงานช้าเป็นประจำ
มีอุปกรณ์การเรียนพร้อม
มีอุปกรณ์การเรียนครบถ้วนทุกครั้ง
มีอุปกรณ์การเรียนครบบ่อยครั้ง
ไม่มีอุปกรณ์การเรียนมาครบบ่อยครั้ง
ทำกิจกรรมกลุ่มจนบรรลุเป้าหมาย
ทำกิจกรรมกลุ่มจนบรรลุเป้าหมายทุกครั้ง
ทำกิจกรรมกลุ่มจนบรรลุเป้าหมายเกือบทุกครั้ง
ไม่ทำกิจกรรมกลุ่มบ่อยครั้ง
ปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จสมบูรณ์
ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจนมีคุณภาพดี
ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจนมีคุณภาพปานกลาง
ทำงานที่ได้รับมอบหมายมีคุณภาพต่ำ
ทำงานอย่างมีระบบ ระเบียบ ละเอียด รอบคอบ
งานทุกชิ้นมีระเบียบ ละเอียด ประณีต และไม่ผิด
งานเกือบทุกชิ้นมีระเบียบ ละเอียด ประณีต และผิดบ้าง
งานส่วนใหญ่ขาดระเบียบ ละเอียด ประณีต และผิดมาก
รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ใช้เวลาว่างอย่างคุ้มค่า แม้ว่างานที่มอบหมายเสร็จก่อนทุกครั้ง
ใช้เวลาว่างอย่างคุ้มค่า แม้ว่างานที่มอบหมายเสร็จก่อนบ่อยครั้ง
เมื่องานเสร็จก่อนเวลาจะนั่งเฉยๆ ไม่ใช้เวลาที่เหลือให้เกิดประโยชน์
ติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ
เอาใจใส่งานแต่ละขั้นตอนจนงานเสร็จ และทำงานทุกชิ้นครบถ้วน
เอาใจใส่งานแต่ละขั้นตอนจนงานเสร็จ และทำงานส่วนใหญ่ครบถ้วน
ไม่เอาใจใส่งานแต่ละชิ้น ทำให้งานไม่เสร็จครบขั้นตอน

เกณฑ์การตัดสิน
การพิจารณาคะแนน
ระดับ 3                                                   3              คะแนน
ระดับ 2                                                   2              คะแนน
ระดับ 1                                                   1              คะแนน
ระดับการประเมินพฤติกรรม
33-39 คะแนน          มีพฤติกรรมระดับดี
             20-32 คะแนน             มีพฤติกรรมระดับปานกลาง
     13-19 คะแนน     มีพฤติกรรมระดับน้อย